วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กางเกง

Full Version 35 ปี ยืนส์พันธ์ไทย MC jean

พากิน พาเที่ยว ICEman > Article

35 ปี ยืนส์พันธ์ไทย MC jean Date : 2010-01-29 12:29:09

 
สุณี เสรีภาณุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีเค การ์เมนท์ (อิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต) ผู้สานต่อแม็คยีนส์ในยุคแรกๆ กล่าวว่า แม็คยีนส์แตกไลน์มาจากธุรกิจซักอบรีดเสื้อผ้า "ซินไฉฮั้ว" และเริ่มก่อตั้งบริษัทผลิตกางเกงยีนส์แม็คแห่งแรกเมื่อปี 2533 รับเป็นทั้งผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้ายีนส์ พร้อมเครื่องประดับภายใต้แบรนด์ "แม็คยีนส์" ในปี 2546 ได้ก่อตั้งโรงงานที่ 2 ในนามบริษัท พีเค การ์เมนท์ 2 เพื่อผลิตเสื้อเชิ้ต เสื้อยืด และแจ็กเกต ปี 2548 ได้ลงทุนระบบการฟอกยีนส์กว่า 80 ล้านบาท นำเข้าเครื่องมือที่ทันสมัยพร้อมเครื่องเลเซอร์ยิงลายยีนส์ที่ถือว่าเป็นเจ้าเดียวในประเทศไทย 
ปัจจุบันแบรนด์ไทยแบรนด์นี้แตกออกอีก 4 แบรนด์ ได้แก่ Mc Jeans, Bison-Casual wear, Mc Lady-Ladies wear และ Kangaroo-Sport Casual wear นำไปจำหน่ายทางแถบเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์ พม่า ลาว เวียดนาม เป็นต้น นำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละนับพันล้านบาท 
35ปียีนส์แบรนด์คนไทย 
สุณี หัวเรือใหญ่ บอกว่า แม็คยีนส์เป็นยีนส์สัญชาติไทยแท้ๆ ที่เติบโตคู่กับสังคมไทยภายใต้กระแสนิยมยีนส์จากตะวันตกที่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย ด้วยลักษณะเฉพาะ เนื้อผ้าคุณภาพ รูปทรงเหมาะสมกับชาวเอเชีย ผนวกกับทีมขายที่มีความแข็งแกร่ง ส่งผลให้แม็คเป็นผู้นำด้านการตลาดติด 1 ใน 3 อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 35 ปี จากกลยุทธ์ด้านการตลาดป่าล้อมเมือง แม็คจึงค่อนข้างจะแข็งแกร่งในตลาดภูธร นอกจากการรุกตลาดไปข้างหน้าเพื่อสร้างยอดขายแล้ว แม็คยังให้ความสำคัญกับการผลิตโดยได้ลงทุนขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว 
สุณี บอกว่า ยี่ห้อ "แม็ค" มาจากคำขึ้นต้นชื่อของผู้ชายชาวสกอตติช เป็นคำที่จดจำง่าย แต่ในประเทศเพื่อนบ้านจะเรียกแบรนด์นี้ว่าเอ็มซี 
"ยีนส์ยุคแรกๆ ออริจินัลของกางเกงยีนส์คือ ลีวายส์ ในยุคนั้นเราเป็นฐานการผลิตให้เขา สักพักเขามีโรงงานเอง ก็มีคนมาชักชวนให้เรามาทำตลาดกางเกงยีนส์ เราก็เลยกระโดดมาผลิตกางเกงยีนส์เพื่อขยายฐานธุรกิจให้กว้างขึ้น ปัจจุบันเรามีโรงฟอกยีนส์แบบครบวงจร พนักงานจาก 2 โรงงาน แบ่งเป็นผู้หญิงซะ 90% จาก 1,000 คน เนื่องจากในไลน์การผลิตผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่า 
วิวัฒนาการของยีนส์ที่มีมายาวนานผนวกกับความเชื่อที่ว่ากางกางยีนส์ช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้กับผู้สวมใส่ดูทันสมัย จากอดีตถึงปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องเนื้อผ้า สี และรูปทรงกางเกงย่อมเป็นไปตามยุคสมัย ความพยายามในการสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นและชูความแตกต่างเหนือคู่แข่งเพื่อรักษาความทันสมัยตลอดกาลนับเป็นข้อได้เปรียบทางการค้า ด้วยการจัดกลุ่มสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภคในทุกๆ กลุ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Original Classic ซึ่งถือเป็นลูกค้ากลุ่มแฟนพันธุ์แท้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นหลัก กลุ่ม Youth Trends ที่เน้นรูปแบบทันสมัยสำหรับคนทำงานที่มีอายุ 25-35 ปี และกลุ่ม Right Tack เน้นดีไซน์แฟชั่น มีความเก๋และเท่อยู่ในตัวด้วยป้ายหนังรูป 5เหลี่ยม เกาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นอายุ15-25 ปี 
"ตอนนี้เราเป็นแฟชั่นมากขึ้น เจาะกลุ่มวัยรุ่นทั้งหมด เครื่องประดับ รองเท้าผ้าใบ เราทำครอบคลุมหมด ประเทศไทยเราเป็นประเทศเกษตรกรรม มีชีวิตที่เรียบง่าย แต่งตัวง่ายๆ จึงเหมาะกับกางเกงยีนส์ ส่วนใหญ่เราจะผลิตออกแบบให้เหมาะกับคนไทย ลูกค้าชอบกางเกงยีนส์ทรงไหน เน้นรูปร่างตรงส่วนไหน การทำแพตเทิร์นเราจะออกแบบทำยังไงให้เขาสวมใส่แล้วสบาย ในขณะเดียวกันก็หุ่นดี คุณภาพเนื้อผ้าก็ต้องดี ยิ่งใส่นานยิ่งสวย" 
ขั้นต้อนการผลิต
สำหรับขั้นตอนการผลิตก็พิถีพิถันไม่แพ้การออกแบบ "กางเกงยีนส์บางชนิดใช้พลาสติกมาเป็นส่วนประกอบกับคอตตอนเพื่อให้เนื้อมัน เงา บางรุ่นใช้ผ้าคอตตอนที่ทอละเอียด สบายในการสวมใส่ จริงๆ การผลิตกางเกงยีนส์เริ่มจากผ้าผืนซึ่งเป็นการลงทุนที่สูงมาก เราใช้ผ้ายีนส์ผลิตในไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อเราทำแพตเทิร์นเสร็จ เข้าสู่กระบวนการตัดด้วยระบบเลเซอร์คัตติงเพื่อความแม่นยำ มีระบบมาร์กกิงที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะคำนวณผ้า ทำให้สูญเสียผ้าน้อยมาก ตัดเสร็จเข้าสู่กระบวนการเย็บซึ่งใช้ชิ้นส่วนเยอะมากโดยคน เย็บเสร็จใช้ระบบสายพานลำเลียงเข้าสู่กระบวนการฟอกให้เป็นสี มีริ้วลาย มาถึงฟินิชิง ติดกระดุม ติดป้าย เก็บเศษด้าย
สุณี บอกว่า ขั้นตอนการผลิตกางเกงยีนส์ที่ยุ่งยากที่สุดคือ จากกระบวนการเย็บไปฟอก เมื่อเสร็จแล้วจะได้ตามแพตเทิร์นที่เราต้องการหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้
"เวลาฟอกต้องเกิดการหด ขยาย หรือบิด ถ้าไม่เข้าใจผ้ายีนส์อาจผลิตแล้วใส่ไม่ได้เลยก็ได้ เช่น ฟิตขา เอวอ้า เป็นต้น ที่สำคัญต้องดูเฉดของสีย้อมก็สำคัญ ย้อมไม่ดียีนส์แต่ละชิ้นอาจจะมีสีคนละสีก็ได้ ถ้าเราไม่คุมผ้าผืนต้นน้ำให้ดี ความผิดพลาดระหว่างการผลิตก็มีสูงมาก" เรียกว่าทุกต้องควบคุมคุณภาพกันทุกขั้นตอนทีเดียว

สำหรับป้ายสินค้ามักใช้แต่ป้ายหนังสำหรับรุ่นคลาสสิก "ด้วยกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า ทำให้แม็คมุ่งมั่นขยายตลาดไปเพียงประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม สิงคโปร์ ฯลฯ" เราไม่อยากโตเร็ว ค่อยๆ รวย" สุณี บอก
 การดูแลกางเกงยีนส์
วิธีดูแลรักษากางเกงยีนส์ให้ใส่แล้วสวยนาน คือ ไม่ควรใส่ผงซักฟอกจนเข้าไปซึมอยู่ในเนื้อผ้า

ผลิตจากคอตตอน 100% ถ้าซักแล้วใส่สารเคมีมันจะแทรกไปอยู่ในเนื้อผ้า ทำให้เนื้อผ้ากระด้าง วิธีดูแลยีนส์ซื้อครั้งแรกควรใส่อาบน้ำเลย เพื่อให้ทรงแนบตัว เอาน้ำลูบกางเกง ไม่ต้องถูสบู่ กางเกงยีนส์จะเข้ารูปเป็นหุ่นของเราเลย มันจะพอดีตัว คงรูป" นี่คือทิปเล็กๆ ในการดูแลรักษายีนส์ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำอีกคือ ไม่จำเป็นต้องซักกางเกงยีนส์ทุกครั้งที่ใส่ ใส่ผงซักฟอกแต่พอดี ใช้แปรงขัดได้เลย เนื้อยีนส์จะได้นิ่ม ซักมือได้ เข้าเครื่องได้ ไม่จำเป็นต้องซักรีด
 
"ยีนส์ไม่จำเป็นต้องรีด เป่าแค่ลมก็ได้ เนื้อยีนส์จะได้ฟู นุ่ม เวลาอบผ้าอย่าใช้ไฟร้อน ใช้ลมธรรมดาก็พอ" สุณี หัวเรือใหญ่แม็คยีนส์ กล่าวจบในที่สุด